Support
เตียงปรับสมดุลย์ร่างกาย
0821519594 , 020 2939 7368
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
 userfiles2/profile-picture/a9490966-ae1f-436a-aaf6-8ce18f87365a/Chomphu13.jpg

Post : 2015-08-31 12:13:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  เทคนิคการถ่ายรูปสินค้าให้น่าซื้อ

 

เทคนิคการถ่ายรูปสินค้าให้น่าซื้อ

.

การขายสินค้าออนไลน์นั้น รูปสินค้าสวย ๆ มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของผู้ซื้อเป็นอย่างมาก ต่อให้บรรยายสรรพคุณสินค้าดีเลิศแค่ไหน ถ้ารูปสินค้าไม่สวย ลูกค้าก็ไม่อยากได้ ไม่อยากซื้อสินค้าของเรา แนะนำเทคนิคถ่ายภาพสินค้าให้ดูดีอย่างมืออาชีพ ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้คุณได้กำไรจากการขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น โดยเทคนิคถ่ายภาพสินค้าที่เรานำมาฝากครั้งนี้ได้จากมืออาชีพในการขายสินค้า ออนไลน์และประสบความสำเร็จมาแล้ว

 

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. กระดาษ 100 ปอนด์สีขาว หรือสีดำ

2. เทปกาว กรรไกร

3. กล้อง พร้อมขาตั้งกล้อง (ขาตั้งถูก ๆ ราคา 200 – 300 บาทก็ใช้ได้แล้ว)

ถ่ายอย่างไรให้ดูดี

1. จัดฉากโดยใช้กระดาษ และเทปกาวที่เราเตรียมมา เอาสินค้าวางบนกระดาษ ดังรูป

2. ควรถ่ายในร่ม ใช้แสงธรรมชาติ ไม่ต้องใช้แฟลช ไม่ต้องจัดไฟ แค่ตั้งโต๊ะชิดหน้าต่าง ให้แสงเข้าด้านข้าง หรือ 45 องศา

3. ถ่ายภาพในมุม 45 องศา ภาพจะดูมีมิติ ไม่ควรถ่ายตรง ๆ จากด้านข้างหรือด้านตรง ภาพจะออกมาแบน ๆ ไม่สวย

4. ควรถ่ายหลาย ๆ ช็อตให้เห็นสินค้าครบทุกด้าน ทั้งหน้า หลัง บน ล่าง ซ้ายขวา ทำให้ลูกค้าจะตัดสินใจได้ง่าย

5. ควรใช้ขาตั้งกล้อง และควรตั้งเวลาถ่าย เพื่อให้ภาพคมชัด ไม่สั่นตามแรงกดชัตเตอร์

 

นอกจากเทคนิคข้างต้นแล้ว สินค้าบางอย่างอาจมีเทคนิคที่เพิ่มเติมเข้ามา ดังนี้

 

เทคนิคถ่ายภาพสินค้าที่เป็นเงา มันวาว

  • ควรเลือกพื้นหลังเป็นสีดำ หรือกระจก จะทำให้สินค้าเด่นขึ้น
  • ควรจัดมุมมองให้ดี เพื่อไม่ให้เห็นเงาสะท้อน

เทคนิคถ่ายภาพเสื้อผ้า

  • ควรถ่ายกับหุ่น หรือให้คนเป็นแบบสวมใส่จริง จะได้เห็นว่าพอใส่ออกมาแล้วทรงเป็นอย่างไร
  • แบบต้องเหมาะสมกับชุด ทั้งเรื่องอายุ หุ่น ไซส์ และสีผิว
  • ควรถ่ายให้เห็นทั้งตัว หากเน้นขายเฉพาะเสื้อ จะถ่ายตั้งแต่หัวลงมาถึงน่องก็ได้
  • ถ่ายเสื้อผ้า ให้เห็นทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
  • ไม่จำเป็นต้องให้แบบโพสต์ท่าเหมือนในแมกกาซีนก็ได้ แค่ให้เห็นว่าใส่ออกมาแล้วเป็นอย่างไรก็พอ

เทคนิคถ่ายภาพอาหาร

  • ควรใช้จานเซรามิกสีขาว ไม่มีลวดลาย
  • ขนาดจานเหมาะกับขนาดอาหาร
  • ควรปรุงอาหารให้มีสีสดกว่าปกติ
  • หากถ่ายอาหารหลายจาน ให้ทยอยทำมาถ่ายทีละจาน ไม่ควรทำทิ้งไว้ อาหารจะสีหมอง ผักจะเหี่ยว ไม่น่ากิน
  • สามารถนำอุปกรณ์อื่น ๆ มาประดับโต๊ะอาหารได้ เช่น แก้วน้ำ กระปุกพริกไทยสวย ๆ แต่ต้องระวังอย่าเด่นกว่าอาหารของเราเป็นอันขาด

ได้เทคนิคถ่ายภาพสินค้า เสื้อผ้า และอาหารกันไปแล้ว ไม่ยากเลยที่จะถ่ายรูปออกมาให้ดูดีอย่างมืออาชีพจริงไหมคะ แค่นี้ก็มีรูปสินค้าสวย ๆ ช่วยในการเพิ่มยอดขายสินค้าออนไลน์แล้วล่ะค่ะ 

.

.
ด้วยความปราถนาดีจาก
: Progress Autotec Soilltd
เตียงกายภาพปรับสมดุลย์ร่างกาย
Lifegear Inversion Table
.
Inbox เพื่อขอรับสิทธิ์ทดลองใช้
เครื่องได้ฟรี! ที่ 
Progrss Autotec Ltd.
สาขาเวียงจันทร์ สปป.ลาว 
โทร. 020 2939 7368 
สาขากรุงเทพฯ ประเทศไทย
โทร. 082 151 9594,086 517 8595
.
LINE ID : Oilirada
.
WhatsApp : Progress
.
IG : oil_pps
.
Fb : LifeGear Inversion Table Lao
.
Cr. https://www.facebook.com/

 userfiles2/profile-picture/a9490966-ae1f-436a-aaf6-8ce18f87365a/Chomphu13.jpg

Post : 2015-08-29 15:52:55.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ประสบการณ์จากการนอนโรงพยาบาลครั้งแรกในชีวิต : ปวดหลัง

ประสบการณ์จากการนอนโรงพยาบาลครั้งแรกในชีวิต : ป ว ด ห ลั ง

.

ดิฉันเป็นพยาบาลวิชาชีพทำงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน เมื่อประมาณกลางเดือนเมษายน ๒๕๔๕ ดิฉันเริ่มมีอาการปวดหลังโดยไม่ทราบสาเหตุ คิดว่าเกิดจากการที่ดิฉันกินยาแก้หวัดเมื่อตอนหัวค่ำ พอรุ่งเช้าอาการยังไม่ทุเลา จึงนอนพักขดตัวเป็นกุ้งอยู่ตลอด ทั้งวันบนโซฟารูปทรงกลม หลับสนิทมาก พอสะดุ้ง ตื่นเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณหลัง ปวดจี๊ดๆ เวลาเอี้ยวหรือก้มตัว คิดว่าไม่กี่วันคงหายเอง

๒ วันต่อมารู้สึกปวดหลังมากขึ้น เวลาก้มก็ปวดจี๊ดๆ เวลานั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ก็ต้องเกร็งหลังตลอด ถ้าไม่ทำอย่างนั้นจะปวด พอเช้าอีก วันอาการปวดเกร็งเริ่มเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะตอน ขับรถมาทำงาน เวลาเหยียบคลัตช์เพื่อเปลี่ยนเกียร์ จะรู้สึกปวดแปลบๆ มาถึงต้นขาด้านซ้ายร้าวไปถึงเท้าซ้าย แต่ยังฝืนมาทำงานตามปกติ ตอนนั้นเริ่มปรึกษาหมอที่คุ้นเคยกันในโรงพยาบาลให้ช่วยดูอาการให้ แต่วันนั้นทั้งวันงานยุ่งมาก ก็เลยไม่ได้เข้า ไปหาคุณหมอ

วันต่อมาขับรถเองไม่ได้แล้วเพราะปวดมาก หลังเกร็งแข็ง ก้มแทบไม่ได้ เพราะเวลาก้มหรือเอี้ยวตัวจะเจ็บมาก และเจ็บแปลบๆ เวลาขึ้น-ลงบันได คราวนี้จึงไปพบคุณหมอ ได้ยาแก้กล้ามเนื้ออักเสบมากิน คุณหมอให้นอนพักมากๆ เย็นวันนั้น จึงกลับบ้านเร็วกว่าปกติ มาถึงบ้านก็อาบน้ำ กินข้าว กินยา แล้วก็นอนพัก รุ่งเช้าคิดว่าอาการน่าจะค่อยๆ ทุเลาขึ้น จึงเตรียมตัวมาทำงานตามปกติ แต่บังเอิญ เช้าวันนั้นอากาศค่อนข้างเย็น เนื่องจากเป็นคนแพ้ อากาศจึงจามอย่างแรง ทำให้ปวดแปลบบริเวณหลัง ทันที ก้มไม่ได้เลย หลังเกร็งแข็งไปหมด ยืนก็ปวด นั่งก็ปวด ต้องนอนราบอย่างเดียวอาการปวดจึงจะทุเลา 

มาถึงที่ทำงาน คุณหมอสั่งให้เอกซเรย์ดูกระดูก สันหลังพบว่า มีความผิดปกติบริเวณข้อต่อที่ ๔-๕ อยู่เล็กน้อย จึงให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแนะนำ ให้นอนพักบนเตียงอย่างเดียว พร้อมให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ และยานอนหลับมากิน ในสัปดาห์ แรกที่นอนพักในโรงพยาบาล ดิฉันไม่ค่อยปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอเท่าไรนัก เพราะคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก รอให้การอักเสบของกล้ามเนื้อดีขึ้น กินยาที่หมอสั่ง แล้วใส่ที่พยุงหลัง (lumba support) ก็คงช่วยได้ ยังหอบงานมาแอบทำอยู่ทั้งสัปดาห์

พอเข้าสู่วันแรกของสัปดาห์ที่ ๒ ขณะกำลังยืน อาบน้ำตอนเช้า รู้สึกชาบริเวณเท้าข้างซ้าย  ตั้งแต่นิ้วกลางถึงนิ้วก้อย และบริเวณฝ่าเท้าด้านนอกจนถึง ส้นเท้า พอมีอาการชาปุ๊บก็รู้ทันทีว่าอาการเริ่มไม่ดี แล้ว จึงตัดสินใจเข้ามารักษากับแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับระบบกระดูกไขสันหลังและเส้นประสาททันที หมอวินิจฉัยว่ามีการเคลื่อนของหมอนรอง-กระดูกทับรากประสาทไขสันหลัง ฉีดยาเข้ากล้ามให้ ๑ เข็ม แล้วกลับมานอนพักต่อที่โรงพยาบาล และนัด ให้ไปทำเอ็มอาร์ไอ (magnetic resonance image) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยให้ชัดเจนอีกครั้งในสัปดาห์ต่อมา

การที่ต้องไปทำเอ็มอาร์ไอทำให้ดิฉันเกิดความ วิตกกังวลใจลึกๆ เพราะไม่ทราบว่าต้องเตรียมตัว อย่างไร แต่พอไปถึงเจ้าหน้าที่ก็ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็น ชุดสีเขียวคล้ายๆ กับชุดคลุมของห้องผ่าตัด ถอดชุด ชั้นในออกแล้วนั่งบนรถเข็นเข้าไปในห้องตรวจ ห้อง จะเย็นมาก เครื่องตรวจมีลักษณะเหมือนแคปซูลสีขาวทั้งเครื่องขนาดเท่าตัวคนนอน เจ้าหน้าที่ให้ดิฉัน นอนบนเตียงที่เลื่อนออกมาจากตัวเครื่อง มีสายรัดบริเวณลำตัวและท่อนขา ใช้สำลีอุดหูทั้ง ๒ ข้าง จากนั้นก็เลื่อนตัวดิฉันเข้าไปในตัวเครื่อง ซึ่งแคบ และอึดอัดมาก บริเวณผนังด้านบนและด้านข้างของ เครื่องห่างจากตัวดิฉันประมาณคืบหนึ่งเห็นจะได้ เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ก็เดินไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งมีเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ ตัว  มีผนังที่เป็น กระจกกั้น ดิฉันสามารถได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่ผ่านมา ทางสายไมโครโฟน ที่ต่อเข้ากับลำโพงเล็กๆ บริเวณ ผนังด้านบนของเครื่อง มีเสียงของเจ้าหน้าที่คอยบอกว่าควรทำอย่างไรบ้าง พอเจ้าหน้าที่บอกว่าเริ่ม ก็มีเสียงดังเป็นเสียงสูงๆ ต่ำๆ สลับกันเป็นพักๆ ดิฉันพยายามทำสมาธิหายใจเข้า-ออกๆ เจ้าหน้าที่ จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ ว่า อีก ๑๕ นาทีนะคะ อีก ๑๐ นาทีนะคะ อย่าดิ้นนะคะ ตลอดการทำสงสัยจะรู้ว่าคนทำกลัวและเกร็ง กว่าจะครบตามเวลา ประมาณ ๓๐ นาที ก็รู้สึกหายใจไม่ค่อยโล่งแขนกับ ขาเกร็งจนล้าไปหมด จากนั้นรอสักครู่ก็ได้รับแจ้งผล ปรากฏว่ามีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกทับรากประสาทไขสันหลัง บริเวณ L4-L5 และ L5- S1 และความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลาง

จากนั้นดิฉันก็นำฟิล์มกับผลการตรวจกลับไปหาคุณหมออีกครั้ง คุณหมอนัดให้ทำการผ่าตัดเพื่อ ตัดส่วนที่เคลื่อนมาทับออก (disectomy) พอทราบ ว่าต้องผ่าตัดถึงจะหาย ดิฉันรู้สึกใจหายวาบ คิด อะไรก็ไม่ออก เพราะคาดว่าหลังจากที่หมอดูฟิล์มแล้วคงจะแนะนำให้นอนพักสักระยะหนึ่ง ให้ยาไป กินร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ไม่น่าจะร้ายแรงถึงขนาดต้องผ่าตัด น่าจะมีวิธีการรักษาอื่นที่ไม่ต้อง ผ่าตัด

ดิฉันกลับมาปรึกษากับครอบครัว เพื่อนฝูงและผู้มีความรู้และประสบการณ์ตรงหลายคนว่า จะทำอย่างไรดี ทุกคนก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกัน ไป บางคนที่เห็นด้วยกับหมอก็บอกให้รีบๆ ผ่าตัด เสีย จะได้ไม่ต้องทนเจ็บอยู่อย่างนี้ บางคนที่ไม่  เห็นด้วย ก็บอกว่าจะผ่าทำไมยังสาวอยู่ เดี๋ยวอีกหน่อยแต่งงานมีลูกจะลำบาก บางคนก็กลัวภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขณะผ่าตัด/หลังผ่าตัด บางคนก็เป็นห่วงเรื่องการทำงาน ฯลฯ แต่สุดท้ายดิฉันก็ตัดสินใจว่าหากอาการไม่ดีขึ้นจริงๆ ก็คงต้องผ่าตัด แต่ช่วงระยะเวลาที่รอการผ่าตัดนั้น จะลองใช้วิธีการรักษาหลายๆ อย่างควบคู่กันไป เผื่ออาการดีขึ้น จะได้ไม่ต้องผ่า 

พอคิดได้อย่างนี้ ก็ไปขอคิวผ่าตัด ปรากฏว่าเร็วที่สุดคือเดือนพฤษภาคม  ๒๕๔๖ ต้องรอไปอีก ๑ ปี ถึงจะได้ผ่าตัด ทีนี้ก็เลยมาลองนอนพักบนเตียง อย่างเดียว (absulute bed rest) ประมาณ ๓ วัน รู้สึกอาการปวดเริ่มดีขึ้น แต่ยังมีอาการชาปลายเท้า อยู่ ลองทำกายภาพบำบัดโดยการประคบร้อน ใช้ความร้อนลึก (อัลตราซาวนด์) และการดึงหลังร่วม ด้วย ปรากฏว่าทำไปสัก ๕  ครั้ง  รู้สึกเจ็บเหมือนตอนที่เริ่มเป็นใหม่ๆ ตอนแรกไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่การรักษาทางกายภาพบำบัดหมอก็บอกว่าอาจจะช่วยได้หรืออาจจะช่วยไม่ได้เช่นกัน ดิฉันลองคิด ทบทวนดูคิดว่าน่าจะเกิดจากการที่ต้องเดินทางไปทำ กายภาพฯ ที่โรงพยาบาลในเมือง เพราะโรงพยา-บาลที่นอนพักอยู่ไม่มีเครื่องมือเพียงพอ การเดินทาง ทุกวันเป็นระยะทางกว่า ๖๐ กิโลเมตร การไปเสียเวลาในการรอคอยเพื่อที่จะได้เข้าทำการรักษา ทำ ให้รู้สึกเครียด กังวล และหงุดหงิด สิ่งเหล่านี้น่าจะมีผลทำให้อาการปวดกำเริบขึ้นได้ ดังนั้น การนัดทำ กายภาพฯ ครั้งที่ ๖ จึงบอกกับคุณหมอเจ้าของไข้ว่า รู้สึกอาการ ปวดเพิ่มขึ้นจะขอหยุดทำได้หรือไม่ คุณหมอก็อนุญาต

หลังจากนั้นดิฉันรักษาตัวโดยการนอนพักบนเตียง ร่วมกับ การกินยาแก้ปวดตามแผนการรักษาประมาณ ๑ สัปดาห์ จึงขอ กลับไปนอนพักต่อที่บ้าน เพราะหลังจากเวลาผ่านไปได้ประมาณครึ่งเดือนของการนอนอยู่โรงพยาบาล  ดิฉันเริ่มรู้สึกเครียดเหมือนถูกขังอยู่ในห้องแคบๆ ถึงแม้ จะมีเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันอย่างดี อยากดูโทรทัศน์ก็มีให้ดู อยากคุยกับเพื่อนก็มีโทรศัพท์ อาหารการกินก็มีบริการ อยากนอนก็ได้นอน อยากอ่านหนังสือก็ได้อ่าน แต่เรารู้สึกว่าอยู่อย่างนี้ไม่ไหวแล้ว คุณหมอก็อนุญาต แต่พอกลับบ้าน ก็ต้องมาเจอกับปัญหาที่ทำให้เครียดเพิ่มขึ้นอีก เพราะการกลับมาพักฟื้นที่บ้านไม่ง่ายอย่างที่คิดไว้ เนื่องจากไม่มีความสะดวกสบายเหมือนที่เราเคยได้รับจากโรงพยาบาล ทำให้เพิ่มความเครียดแก่สมาชิกในครอบครัวและตัวเราเอง กลับมาบ้านได้ ๓ วัน ก็เข้ามาปรึกษาคุณหมอและ พี่ๆ ที่โรงพยาบาลว่า จะขอกลับมานอนพักที่โรง พยาบาลก่อนได้ไหม ช่วงนี้คงต้องปรับปรุงบ้านเพื่อรอรับการกลับไปพักฟื้นก่อน ถ้าอยู่ที่บ้านจะยิ่งเครียดกว่าเดิม อาการที่กำลังดีขึ้นอาจจะทรุด   ลงได้ คุณหมอก็เลยให้กลับมานอนโรงพยาบาลเป็นครั้งที่ ๒

ระหว่างที่นอนพักอยู่ที่โรงพยาบาล ที่บ้านก็มี การเตรียมพร้อมค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องสถานที่ ห้อง นอน และห้องน้ำ ก็ต้องทำเพิ่มที่ชั้นล่าง ภาระหน้าที่ในบ้าน การซักผ้า รีดผ้า ทำความสะอาดบ้าน และที่สำคัญคือความรู้สึกกับความเข้าใจในโรคที่เป็น อยู่ของสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากต้องปรับทั้งพฤติกรรมของตนเองและคนในครอบครัวอย่างมาก  

ส่วนเรื่องอาหารการกินจะพยายามเลี่ยงอาหารจำพวกสัตว์ปีก หน่อไม้ ผักโขม หรือผักที่มีผลต่อข้อ/กระดูก เน้นอาหารจำพวกนม และถั่วต่างๆ เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานนานๆ การเดินบ่อยครั้ง การขึ้นบันได หรือการยกของหนัก ช่วง แรกยังขับรถไม่ได้ต้องอาศัยมาทำงานกับพี่ที่ทำงาน ที่เดียวกัน ระหว่างนั้นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ นอกเหนือจากการปฏิบัติตัวอย่างขั้นต้นแล้ว ต้องพยายามรู้ตัวตลอดเวลาว่าเรากำลังอยู่ในภาวะพักฟื้น ยังทำงานต่างๆ เหมือนปกติไม่ได้ ต้องระมัดระวังตัวในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การนั่งทำงานต้อง เปลี่ยนเป็นเก้าอี้ที่หมุนได้ มีพนักพิงหลังและแขน  ทั้ง ๒ ข้าง บางครั้งอาจต้องใช้เบาะนุ่มๆ รองพนักพิง อีกที พยายามหลีกเลี่ยงการเดินไป-มา ถ้าเป็นไปได้จะรวบรวมงานที่ต้องเดินไปทางเดียวกันให้หมดแล้วเดินไปทำครั้งเดียว หลีกเลี่ยงที่จะยกของ หิ้วของ หนักๆ ทำงานไม่หักโหมเหมือนเมื่อก่อน พยายาม ไม่เครียด ที่สำคัญหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาต้องเข้าใจอาการของโรคที่เกิดขึ้น และการดูแลพักฟื้นเพื่อไม่ให้โรคกลับมาเป็นซ้ำอีก

นอกจากนี้ ดิฉันยังใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์แผนไทย โดยการนวด อบ ประคบด้วยสมุนไพร สลับกับการทำกายภาพบำบัดแบบง่าย  คือ การประคบด้วยความร้อนเป็นบางครั้ง และทำสลับกันไปเป็นพักๆ แต่ที่เริ่มทำตลอดและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องหลังจากกลับมาพักฟื้นที่บ้านและทำงานตามปกติ คือ การบริหารร่างกายโดยเฉพาะ หลังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยเริ่มทีละ ๕ ครั้ง จากนั้นก็เพิ่มเป็น ๑๐ ครั้ง ๑๕ ครั้ง จนถึง ๒๐ ครั้ง ต่อท่า และทำเป็นประจำจนถึงทุกวันนี้

หลังจากนั้นอาการเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ๓ เดือน ต่อมา ดิฉันสามารถขับรถยนต์ได้เอง แต่เป็นระยะทางใกล้ๆ เดินได้เร็วขึ้น ขึ้นบันไดโดยไม่มีอาการเจ็บ นั่งทำงานนานๆ ได้โดยไม่มีอาการเมื่อยหลัง หรือปวดก้น นั่งรถเป็นระยะทางไกลได้นานขึ้น แต่ยังไม่กล้าเสี่ยงที่จะเดินทางไกลๆ เช่น เดินทางไปกรุงเทพฯ โดยรถทัวร์ เป็นต้น การไปท่องเที่ยวตาม ธรรมชาติ เช่น ภูเขา น้ำตก การเดินดูของ-ซื้อของ ตามห้างนานๆ ถูกงดไปโดยปริยาย ปัจจุบันดิฉันสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ทำงานได้ เต็มศักยภาพ แต่ก็พยายามไม่เครียดและไม่หักโหม เกินไป ทดลองออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิกเบาๆ คิดว่าพอถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๖ อาจจะไม่ต้องผ่าตัดเหมือนที่คุณหมอบอกก็ได้

การที่ได้ประสบการณ์ตรงจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ ทำให้รู้สึกว่า ที่จริงแล้วชีวิตที่มีความสุขนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายไขว่คว้าอยู่ตลอดเวลา และสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความหมายมิใช่ข้าวของ  เครื่องใช้ เงินทอง แต่เป็นความสมบูรณ์ของร่างกาย  จิตใจ และจิตวิญญาณมากกว่า ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตอยู่ ดิฉันอยากจะขอบคุณทุกคนที่ได้ช่วยให้กำลังใจ และคอยดูแลเป็นห่วงเป็นใยดิฉันมาตลอด โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่คอยประคับประคองให้ชีวิตผ่านช่วงวิกฤติมาหลายครั้งหลายครา ดิฉันรู้สึกสำนึกในความกรุณาของพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ที่ทำงานที่คอยช่วยเหลือ แบ่ง เบาภาระในการทำงานตลอดระยะเวลาที่ดิฉันเจ็บ ป่วย รวมทั้งคอยผัดเปลี่ยนกันมานอนเฝ้าดิฉันเป็น ประจำ รู้สึกซึ้งในน้ำใจของเพื่อนๆ ที่มาเยี่ยมเยียน และสอบถามอาการด้วยความเป็นห่วงอยู่ทุกระยะ รู้สึกถึงความเอื้ออาทรของผู้คนที่เคยมีประสบการณ์ เหล่านี้แล้วให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ดิฉันรู้สึกมีกำลังใจเมื่อผู้คนที่ไม่เคยรู้จักได้หยิบยื่นข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ให้ได้ทราบ และขอขอบคุณทุกๆ คนที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกมากมาย ที่สำคัญดิฉัน รู้สึกว่าการหายจากเจ็บป่วยในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ได้มากขึ้น
 

กรุณา Inbox เพื่อขอรับสิทธิ์ทดลองนำใช้เครื่องได้ฟรี! ที่ 
Progrss Autotec Ltd.
สาขาเวียงจันทร์ สปป.ลาว โทร. 020 2939 7368 
สาขากรุงเทพฯ ประเทศไทย
โทร. 082 151 9594,086 517 8595
.
Line Id : Oilirada
.
WhatsApp : Progress
.
IG : oil_pps
.
Fb : LifeGear Inversion Table

 

ขอขอบคุณ : หมอชาวบ้าน/somsak/ http://www.doctor.or.th/article/detail/1982

 

 userfiles2/profile-picture/a9490966-ae1f-436a-aaf6-8ce18f87365a/Chomphu13.jpg

Post : 2015-08-29 13:36:42.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  พฤติกรรม ทำลายกระดูก ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

 พฤติกรรม ทำลายกระดูก ที่คุณอาจไม่รู้ตัว
.
กระดูกสันหลังมีความสำคัญต่อบุคลิกภาพ วันนี้เรามี 10 วิธีที่คุณอาจเคยทำและไม่รู้ว่ามันทำร้ายกระดูกสันหลังของคุณมาบอกกัน ลองดูนะคะ 

1.การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด 

2.การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแล็คติก มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา 

3.การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย 

4.การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง 

5.การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ 

6.การนั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้ 

7.การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัว 

8.การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม การยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อยเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง 

9.การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋าโดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้ 

10.การขดตัว/นอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างก่าย โดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง
.
กระดูกเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายทุกส่วน แต่กระดูกบางส่วน ควรดูแล และรักษาสุขภาพกระดูก ทั้งในเรื่องการกิน การออกกำลังกาย การอยู่ในอิริยาบทเดิมๆ เป็นเวลานาน มีภาวะเสี่ยง เปลี่ยนอิริยาบท ทุกๆ 5-10 นาที ก็ดีนะคะ
 
.
กรุณา Inbox เพื่อขอรับสิทธิ์ทดลองนำใช้เครื่องปรับสมดุลย์ได้ฟรี! ที่ 
Progrss Autotec Ltd.
สาขาเวียงจันทร์ สปป.ลาว โทร. 020 2939 7368 
สาขากรุงเทพฯ ประเทศไทย
โทร. 082 151 9594,086 517 8595
.
Line Id : Oilirada
.
WhatsApp : Progress
.
IG : oil_pps
.
Fb : LifeGear Inversion Table Lao
.

ขอบคุณที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ และsanook.com
รูปภาพจาก : thaiasclub.net

วิจัยก้าวใหม่ วช. RIDM

 userfiles2/profile-picture/a9490966-ae1f-436a-aaf6-8ce18f87365a/Chomphu13.jpg

Post : 2015-08-28 20:43:11.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  เส้นทางการต่อสู้กับอาการปวดหลัง Office Syndrome ของผม

พึ่งเคยตั้งกระทู้ครั้งแรก ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ล่วงหน้า

ผมเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหา Office Syndrome จากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ประมาณสัก 3 ปีจึงเริ่มออกอาการ

อาการของผมคือมีอาการปวดหลังช่วงเอว ตรงกลาง ค่อนไปทางซ้าย นั่งนานปวด ยืนนานปวด เดินนานปวด เล่นกีฬาหนักปวด  ช่วงแรกอาการก็ไม่ได้ดูหนักมากนัก เหมือนไม่ได้กระทบชีวิตประจำวันสักเท่าไหร่ หลายปีผ่านไป ก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น จนมาถึงวันที่ได้พบรักกับแบดมินตัน เล่นเยอะมาก อาทิตย์ละสามครั้ง ครั้งละ 2 ชม. อุปกรณ์เริ่ด รองเท้าดี ซัพพอร์ทเยี่ยม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปี 2 ปีผ่านไป อาการปวดหลังแย่ลงไปเรื่อยๆ ตื่นเช้ามาก็จะปวดมาก สักพักมันก็จะค่อยๆทุเลาลง หลังจากเริ่มเดิน เริ่มใช้ร่างกายไปสักครู่ วันที่ไม่ดีบางวันก็ปวดจนเดินไม่ได้ ก็อาจจะมีแบบนี้ 2 - 3 เดือนครั้ง พอช่วงไหนเบื่อกับอาการที่เป็นก็ไปหาหมอ

เคยมีอยู่ครั่งนึง เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เดินอยู่ดีๆ ที่ตึกออฟฟิศ จะเลี้ยวซ้ายเข้าลิฟท์มันเหมือนเกิดอะไรขึ้นสักอย่าง ข้างในหลัง ความเจ็บปวดค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ รู้สึกตัวทันทีด้วยอัตรานี้เดี๋ยวจะ เดินไม่ได้แน่ ลางานสิคับ เดินแบบย่องๆ เพราะเจ็บทุกก้าว นั่งแท็กซี่ไปโรงพยาบาลคนเดียว สิ่งที่ได้กลับก็มาก็เหมือนเดิม Arcoxia(บรรเทาอาการเจ็บปวด บวมจากภาวะอักเสบของข้อ) อาการเจ็บปวดที่เลวร้ายก็ค่อยๆ ดีขึ้นอย่างช้าๆ จนกลับมาสู่การใช้ชีวิตประจำวันแบบคนมีโรคประจำตัวได้ (อาการปวดยังคงอยู่ ไม่ไปไหน)

 

ใช้ชีวิตปกติต่อไปอีกซักพักก็มีวันที่ไม่ดี(ที่เจ็บเยอะ) มาเรื่อยๆ ครั้งไหนทนไม่ไหว ก็จะไปหาหมอ รวมๆแล้วหาหมอเรื่องปวดหลังทั้งหมดน่าจะประมาณ 10 ครั้ง จนมาเจอคุณหมอท่านนึงฟันธงเลยว่า ผมเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อมแน่นอน ซึ่งมีข้อห้าม 4 อย่าง

1. ก้มๆ เงยๆ (โยคะ หรือท่ายืดที่ทำอยู่บ้าง ก็โยนทิ้ง)

2. เล่นกีฬาที่กระแทก (วิ่ง เตะบอล บาส แบดมินตัน สาปสูญ)

3. นั่งนาน

4. ยกของหนัก (เวทเทรนนิ่ง ห้ามเล่นแน่นอน อดดด)

พร้อมจ่ายยา Lyrica (ใช้รักษาอาการปวดหรือเจ็บในบริเวณปลายเส้นประสาทและสมอง) วันรุ่งขึ้นอาการปวดหายเป็นปลิดทิ้ง!!

ผมก็เลยเชื่อหมอคนนี้สนิท จิตตกในทันที ตกลงเป็นจริงๆ ใชไหมหมอนรองกระดูกที่เอาคืนมาไม่ได้ และกีฬาทั้งหลายที่ชอบเล่น เล่นไม่ได้แล้ว ความเจ็บปวดที่มีก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ ...แต่อยู่ไปซักพักก็รับไม่ได้  ยังคงพยายามค้นหาต่อไปบนอินเตอร์เน็ท จนได้เจอกับ “Foundation Training”(ลอง search ดูคับ) ณ วันนี้ถ้านับวันที่เจ็บปวดที่สุดเมื่อ 2 ปีก่อน ถ้าให้คะแนนความเจ็บนั้นเท่ากับ 100% ณ ปัจจุบันวันที่แย่ที่สุดของผมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10% วันที่ดีก็เหมือนคนปกติอีกครั้งเลยทีเดียว

สรุปให้ฟังไว้ก่อนว่านอกจากไปโรงพยาบาลแล้วที่ผ่านมาผมทำอะไรบ้างเพื่อรักษาอาการนี้ ภายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

-    หมอนวด ตั้งแต่ถูกถึงแพงมาก  เบาถึงหนักมาก จนน้ำตาไหล...พบว่าอาการดีขึ้นบ้างไม่ดีขึ้นบ้าง บ้างครั้งแย่กว่าเดิม แต่สุดท้ายแล้วมันก็กลับมาอีก

-    ฝังเข็ม ลองอยู่ไม่กี่ครั้ง แต่ไม่เห็นผลอะไร ไม่คอมเมนท์อันนี้แล้วกัน

-    กายภาพบำบัด น่าจะประมาณ 10 ครั้งได้ ไปอย่างต่อเนื่อง เชื่อฟัง ทำการบ้าน ก็ยังไม่ได้เห็นผลอะไรชัดเจนนัก

-    หมอจัดกระดูก หมอฝรั่ง ญี่ปุ่น ลองมาหมด (แพงมากเช่นกัน) ...อาการดีขึ้นในช่วงแรกแต่ก็ยังกลับมาอีก

-    ยืดกล้ามเนื้อเองตามคลิป หนังสือ หรืออะไรก็ตามที่หามาได้ตามอินเตอร์เน็ท บางอันก็ดี บางอันก็ไม่มีอะไรดีขึ้น แต่โดยรวมแล้ว ไม่มีอะไรที่ทำให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน คืออาจจะทำผิดทำถูกก็เป็นไปได้

-    ออกกำลังเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลัง ทั้งแบบ บอดี้เวท (ใช้แต่น้ำหนักตัว) เวท เทรนนิ่ง (ทั้งฟรีเวท และ เครื่อง) บางวันเหมือนจะดี แต่ส่วนใหญ่แล้วจะแย่

-    ตอนไปโรงพยาบาลก็เอ็กซเรย์ไป 3 - 4 ครั้งเหมือนกัน ไม่เคยมีใครฟันธงอะไร บอกว่า หมอนรองกระดูกเริ่มเสื่อมที่ L4 L5 S1 (ช่วงใต้เอวนิดๆ ก็คือแถวๆที่มีอาการ) แต่ก็ไม่ได้ดูทรุดมากจนชัดเจน ไม่สามารถฟันธงได้ว่ามันเป็นต้นเหตุ จนมาถึงหมอคนสุดท้ายที่เล่าให้ฟังด้านบน

Foundation Training คืออะไร

ได้รู้จักกับ FT(Foundation Training) ครั้งแรกมาจากเว็บ อเมซอน ตอนนั้นที่ผมหาคือหนังสือเกี่ยวกับ การเจ็บหลัง และพบว่า หนังสือ FT ขายดีเป็นอันดับที่ 2 (เลือกอันดับ 2 เพราะอันดับ 1 มีรีวิวที่ไม่ดีมากกว่า... ตอนนี้ไม่รู้อันดับอะไรแหละ) 

หนังสือก็จะพูดเกี่ยวกับสาเหตุในการเจ็บหลังว่าเป็นเพราะ ไลฟ์สไตล์คนปัจจุบันนั้นทำให้ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆไม่ได้ถูกใช้อย่างที่มันถูกมันควรเช่น ก้น ต้นขาด้านหลัง ขาด้านใน ภาระกลับไปตกอยู่ที่ส่วนที่อ่อนแอ คือ หลังช่วงเอว หรือตกอยู่ที่กระดูกแทนที่จะเป็นกล้ามเนื้อ หนังสือก็สอนท่าออกกำลังแบบ บอดี้เวท (ไม่ต้องใช้อุปกรณ์) เพื่อที่จะสอนให้ร่างกายขยับอย่างถูกต้องและ กระตุ้นการใช้งานและเสริมคววามแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหล่านั้นให้กลับมาทำงานแบบที่มันควร และลดภาระของกระดูก นอกจากนี้ผลข้างเคียงคือ posture ก็จะดีขึ้นด้วย เหมือนเป็น exercise ที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับ lifestyle ของมนุษย์ปัจจุบันโดยเฉพาะ (นั่งทั้งวัน ก้มทั้งวัน ไหล่ห่อทั้งวัน) นักกีฬาหลายคนก็นำไปใช้เพราะถ้าขยับตัวและใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ดี สิ่งที่เค้าทำอยู่ก็จะดีขึ้นไปด้วย

ผมนี่ ลองทำเลยครับ ทำไปไม่นาน ประมาณเดือนนึง ก็ไม่ได้มีอาการเจ็บในขณะที่ทำ(มีแต่เมื่อย ตึง) เหมือนจะดีขึ้น วันธรรมดาโดยรวมดีขึ้น วันที่ไม่ดี อาการน่าจะเหลือประมาณ 80% ของสมัยก่อน คือไม่มีวันไหนปวดแบบเดินไม่ได้ แต่ ยังไม่สะใจ ดูในรีวิวของหนังสือ ทำไมเค้าบอกหายเลยล่ะ หรือมันหน้าม้า แต่รีวิวก็เยอะอยู่  เลยฮึดทำต่อไปเรื่อยๆ อาการเจ็บยังคงค้างอยู่ที่ 80%  หาข้อมูลไปเรื่อยๆพบว่าเว็บไซท์เค้ามีให้เทรนกับ  Certified Instructor แต่เมืองไทยไม่มี งั้นเทรนผ่าน skype ก็ได้...เงินก็ไม่มี 55 จ้างไม่กี่ sessions ก่อนแล้วกัน  ทำให้พบว่ามีหลายอย่างที่เราทำไม่ถูก 4 sessions ผ่านไป...แม่เจ้า!! มันดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ จากก่อนเทรนผ่าน skype มีความเจ็บหลัง 80% พอ 4 sessions ผ่านไป (ประมาณ อาทิตย์ละครั้ง และฝึกเองด้วย) เหลือ 20%!!!! (วัดจากความรู้สึกในวันที่แย่ที่สุด)

กำลังใจเริ่มมา แตไม่หยุดอยู่แค่นั้น พอเห็นเค้ามีโปรแกรม workshop เป็นเวลา 4 วันที่อเมริกา เพื่อจะได้เป็น Certified Instructor เอาวะ...กัดฟัน ทุ่มเทบัตรเครดิต ไปก็ได้ว่ะ ช่วงที่ฝึกรู้สึกดีมาก คนที่เคยสอนกันผ่านสไกป์บอก ดีมากมาหาถึงมือยังงี้ฝึกกันมันส์กว่าเยอะ ฝึกไปสองวัน อาการเจ็บของผม หายสนิท(มันก็คือความรู้สึกน่ะนะ แต่รู้สึกยังงั้นจริงๆ) ดีใจมาก มันเหลือเชื่อมาก แม้แต่อาการเจ็บข้อมือ ที่เกิดจากการลื่นล้มแล้วเอามือยันพื้นแล้ว เมื่อหลายปีก่อน (ที่หาหมอหลายครั้งเหมือนกัน ยังไงก็ไม่หาย) มันก็ดีขึ้นด้วย โอ้พลังแห่ง FT และ Posture ทุกวันนี้ก็ยังคงฝึกต่อไปอย่างต่อเนื่อง วันนึงก็ไม่ได้ใช้เวลาอะไรมาก ประมาณ ครึ่งชม. ทุกวันเว้นวัน อะไรประมาณนั้น อย่างที่บอกด้านบนว่า ณ วันนี้วันที่แย่ที่สุดอยู่ที่ประมาณ 10% ของเมื่อก่อน ซึ่งจริงๆแล้วมันควรจะดีได้กว่านี้ แต่มันกลายเป็นว่า พอนั่งนานแล้วไม่ปวด ผมก็เลยนั่งนานยิ่งกว่าเดิม -_-“ มันก็เลยมีอาการกลับมารบกวนบ้าง นั่นก็เป็นสิ่งที่ตัวผมต้องปรับปรุงต่อไป (ทำให้แข็งแรงกว่านี้ และลุกให้มากกว่านี้) สนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็ลอง search ดูคับ มี video เกียวกับ FT หลายอันอยู่ มี Ted Talk ด้วย

สรุปเลยแล้วกัน ที่ผมเขียน เพราะอยากแชร์ประสบการณ์ ใครสนใจลองหาหนังสือมาอ่าน ซื้อ Video ของเค้า (หนังสือมีทฤษฎีมากกว่า แต่ท่าออกกำลังจะยังไม่พัฒนามาถึง Video) หรืออยากจะมาสอบถามข้อมูลจากผมก็ได้นะครับ เผื่อเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนไหนมีปัญหาเหมือนที่ผมเคยเป็น จะได้รู้สึกดีขึ้นบ้าง หรือคนที่ไม่ได้มีอาการบาดเจ็บแต่อยากป้องกัน หรือ ปรับปรุงบุคลิก การออกกำลังแบบถูกต้องนี่แหละ เห็นผลยั่งยืน

.
ขอขอบคุณ : pantip.com/toppig/33699338 ,Anti office Syndrome by Activelife Thailand

1

 เครื่องออกกำลังกาย,เครื่องยืดกระดูก,เตียงยืดหลังนักกล๊อฟ,ทางเลือกดูแลสุขภาพ,ปวดหลัง,หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท,เตียงกายภาพ